วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คำนวนบีทียูแอร์ ก่อนเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ

    

คำนวนบีทียูแอร์ ก่อนเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ

         สำหรับคนที่กำลังคิดจะติดแอร์ที่บ้านซักเครื่องอยู่ในตอนนี้ สิ่งที่คุณต้องรู้ก่อนเป็นอันดับแรกก็คือห้องนั้นเป็นห้องอะไร ใช้งานแบบไหน  มีพื้นที่เท่าไหร่ เพื่อเป็นข้อมูลในการคำนวณหาขนาดทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศแบบคร่าวๆที่ เหมาะสมกับห้องนั้นๆ  เครื่องปรับอากาศจะได้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และไม่ทำงานหนักเกินไป  ข้อมูลเหล่านี้เมื่อคุณทราบแล้วสามารถนำไปใช้สำหรับการเลือกซื้อเครื่องปรับ อากาศต่อไป
การวัดพื้นที่ทำความเย็น
การวัดพื้นที่ห้องนั้น ควรวัดออกมาเป็นตารางเมตร และพยายามวัดให้ครบทั่วถึง เช่น  หากคุณวัดพื้นที่ในห้องนอน ควรวัดพื้นที่ในห้องน้ำด้วย หากต้องการแอร์เย็นถึงในห้องน้ำ ถ้าหากไม่วัดพื้นที่ในห้องน้ำด้วย แต่นำพื้นที่แค่ในห้องนอนมาคำนวณหาบีทียูแอร์ก็จะได้ขนาดทำความเย็นแค่ใน ห้องนอนแต่ใช้งานจริงก็เปิดประตูห้องน้ำไว้แล้วก็บ่นว่าแอร์ไม่เย็นนั่นเอง  ห้องนั่งเล่นที่มีฉากกั้นห้องครัว และห้องน้ำ ก็ต้องวัดพื้นที่ในห้องครัวและห้องน้ำด้วย ส่วนความสูงของเพดานกำหนดไว้ไม่เกิน 3เมตร
การคำนวณขนาดทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ
เมื่อได้พื้นที่ห้องมาแล้วเราก็สามารถทำมาคำนวณบีทียูแอร์ได้เองแบบ คร่าวๆได้ดังนี้ โดยใช้สูตร  บีทียูแอร์=กว้าง(เมตร)xยาว(เมตร)xตัวแปร
ตัวแปรสำหรับการหาบีทียูแอร์
x800 สำหรับห้องนอน
x900 สำหรับห้องนั่งเล่น, ห้องรับแขกที่มีคนไม่เกิน 4คน
x1000 สำหรับออฟฟิตหรือสำนักงานที่มีคนทากกว่า 4คน, ห้องออกกำลังกาย, ห้องที่มีผนังเป็นกระจก
ตัวอย่างเช่น 
ห้องนอนขนาด 12 ตารางเมตร นำ 12×800=9600 บีทียู/ชั่วโมง และเราสามารถเลือกแอร์ที่มีบีทียูแอร์ใกล้เคียงกับบีทียูแอร์ที่เราคำนวนได้ เช่น 9,000บีทียู หรือ 11000บีทียู ได้เช่นกัน
**หมายเหตุ : หากฝ้าเพดานสูงเกินกว่า 3เมตร ให้เพิ่มตัวแปรเป็นเมตรและ 5%
นั้นเป็นข้อมูลการคำนวณบีทียูแอร์แบบง่ายๆสำหรับบ้านเรือนหรือสำนักงาน ทั่วๆไป ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในประเทศไทยที่อากาศค่อนข้างร้อน อบอ้าว สำหรับการคำนวณขนาดทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศสำหรับพื้นที่ทำความเย็นใน ห้องเฉพาะเจาะจง หรือสำหรับการปรับอากาศสำหรับห้องพิเศษ เช่น ห้องผ่าตัด ปลอดเชื้อ ในโรงพยาบาล, ห้องเก็บอาหาร, ห้องเครื่องไฟฟ้า, ห้องเครื่องเซิร์ฟเวอร์  เป็นต้น จำเป็นต้องมีการคำนวณการโหลดความร้อนและอื่นที่ละเอียดและซับซ้อนมากกว่า และต้องเป็นวิศวกรที่มีใบอนุญาตออกแบบเท่านั้น จึงจะได้เครื่องปรับอากาศที่สามารถรักษาอุณหภูมิในห้องนั้นๆได้อย่างแม่นยำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น