วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

งานไฟฟ้าและงานอิเล็กทรอนิกส์

งานไฟฟ้าและงานอิเล็กทรอนิกส์              

       เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะและประสบการณ์ ในการนำเอาพลังงานไฟฟ้ามาใช้ ในลักษณะพลังงานแสงสว่าง พลังงานความร้อน  และพลังงานกล และต้องใช้ได้อย่างปลอดภัย  โดยเน้นในการบำรุงรักษา ความปลอดภัย  มีอายุการใช้งานยืนนาน เพราะอุปกรณ์ไฟฟ้าเหมือนเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญในชีวิตประจำวันซึ่งจะขาดไม่ได้   
ระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ตามปกติ แล้วไฟฟ้าจะไหลไปตามเส้นลวดที่เป็นตัวนำไฟฟ้าแล้วจะไหลติดต่อกันไปจนครบวงจร และถ้าหากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปแตะหรือสัมผัสเข้ากับวงจรไฟฟ้าทำให้ ไฟฟ้าไหลผ่านได้และร่างกายเราก็จะเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายหรือบาดเจ็บถึงชีวิตได้ ซึ่งกระแสไฟฟ้าเพียงแค่ 10 mA หรือแรงดันไฟฟ้า 25 V ก็อาจทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิต ค่าความต้านทานของร่างกายมนุษย์จะมีค่าประมาณ 10,000 โอห์ม ถึง 50,000 โอห์ม

อันตรายของวงจรไฟฟ้ามีองค์ประกอบ 3 อย่าง



1.กระแสไฟฟ้า คือ จำนวนกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกาย ถ้ากระแสไฟฟ้าต่ำอันตรายก็อันตรายน้อยแต่ถ้ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้นก็เป็นอันตราย มากขึ้น จนถึงระดับหนึ่งอาจจะเสียชีวิตได้
2.แรงเคลื่อนไฟฟ้า คือ จำนวนแรงเคลื่อนไฟฟ้า ถ้าแรงเคลื่อนไฟฟ้าต่ำอันตรายก็อันตรายน้อยแต่ถ้าแรงเคลื่อนไฟฟ้าสูงขึ้นก็ เป็นอันตรายมากขึ้น จนถึงระดับหนึ่งอาจจะเสียชีวิตได้
3.ความต้านทานของร่างกายของผู้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน คือ ความต้านทานร่างกายของคนเราจะแตกต่างกันไป เช่นผิวหนังที่มีความชื้นมีความต้านทานต่ำกระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ง่าย แต่ถ้าผิวหนังหยาบความต้านทานจะสูง กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ยาก


อันตรายที่เกิดจากไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

1.การช็อก คือ จากการที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายทำให้เกิดอาการกระตุ้นบริเวณกล้ามเนื้อ อย่างรุนแรงโดยเฉพาะบริเวณเส้นประสาทจะขึ้นอยู่กับปริมาณกระแสที่ร่างกายได้ รับ
2.แผลไหม้ คือ การเกิดกระแสไฟฟ้าปริมาณมากๆ ไหลผ่านร่างกาย เมื่อร่างกายไปสัมผัสกับตัวนำไฟฟ้าความร้อนปริมาณมากๆที่เกิดการลัดวงจรทำ ให้เกิดแผลไหม้แก่ผู้ทำการ
3.การระเบิด คือ การเกิดประกายไฟขึ้นไปทำให้ก๊าซที่จุดติดไฟได้ง่ายเกิดจุดติดไฟขึ้นมา
4.การบาดเจ็บที่ดวงตา คือ การที่สายตากระทบถูกแสงอุลตร้าไวโอเล็ตหรือแสงเลเซอร์ ที่มีความเข้มข้นสูงดังนั้นการทำงานควรสวมแว่นตาที่กรองแสงได้เป็นพิเศษ
5.การบาดเจ็บของร่างกาย คือ การที่ได้รับคลื่นไมโครเวฟและจากอุปกรณ์กำเนิดสัญญาณความถี่วิทยุ สามารถทำอันตรายมนุษย์ได้โดยเฉพาะบริเวณที่มีปริมาณเลือดน้อย
ปริมาณกระแสไฟฟ้า ผลกระทบที่มีต่อร่างกาย
1 mA หรือ น้อยกว่า ไม่มีผลกระทบต่อร่างกาย
มากกว่า 5 mA ทำให้เกิดการช็อก และเกิดความเจ็บปวด
มากกว่า 15 mA กล้ามเนื้อบริเวณที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูดเกิดการหดตัว และร่างกายจะเกิดอาการเกร็ง
มากกว่า 15 mA กล้ามเนื้อบริเวณที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูดเกิดการหดตัว และร่างกายจะเกิดอาการเกร็ง
มากกว่า 30 mA การหายใจติดขัด และสามารถทำให้หมดสติได้
50 ถึง 200 mA ขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ และอาจจะเสียชีวิตได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที
มากกว่า 200 mA เกิดการไหม้บริเวณผิวหนังที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูด และหัวใจจะหยุดเต้นภายในเวลาไม่กี่วินาที
ตั้งแต่ 1A ขึ้นไป ผิวหนังบริเวณที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูดถูกทำลายอย่างถาวร และหัวใจจะหยุดเต้นภายในเวลาไม่กี่วินาที
ตารางแสดงผลกระทบที่มีต่อร่างกายมนุษย์ เมื่อถูกกระแสไฟฟ้าดูด

การปฐมพยาบาลผู้ประสบอุบัติเหตุ


1. การปฐมพยาบาลด้วยการผายปอดด้วยวิธีปากต่อปาก

ขั้นที่1 วางผู้เคราะห์ร้ายให้อยู่ในแนวราบ แต่ถ้าอยู่บริเวณพื้นที่ลาดชันวางส่วนที่เป็นกระเพาะอาหารให้อยู่ต่ำกว่าบริเวณหน้าอกเล็กน้อย

ขั้นที่2 ตรวจบริเวณช่องปากตลอดจนลำคอว่าไม่มีสิ่งใดๆกีดขวางทางเดินหายใจ

ขั้นที่3 จับศรีษะของผู้เคราะห์ร้ายเอียงไปทางด้านหลังมากที่สุด โดยให้คางเงยขึ้นมาและจัดลำคอให้อยู่ในแนวตรงเพื่อให้อากาศใหลผ่านได้สะดวก

ขั้นที่4 ปิดจมูกของผู้เคราะห์ร้ายด้วยหัวแม่มือและนิ้วชี้อีกข้างหนึ่งส่วนมืออีก ข้างช่วยเปิดปากให้กว้าง จากนั้นประกบปากให้แนบสนิทและเป่าลมเข้าไป

ขั้นที่5 หลังจากเป่าลมหายใจเข้าไปแล้วสังเกตการเคลื่อนตัวบริเวณหน้าอกและสุดลมหายใจเข้าไปลึกๆ
เพื่อทำการเป่าลมหายใจอีกครั้ง

ขั้นที่6 ถ้าหน้าอกของผู้เคราะห์ร้ายไม่เคลื่อนไหวให้ตรวจดูลำคอและทำการผายปอดใหม่
2. การปฐมพยาบาลด้วยวิธีนวดหัวใจ

ขั้นที่1 นำผู้เคราะห์ร้ายวางราบไปกับพื้นโต๊ะ โดยศรีษะแหงนขึ้นลำคอยืดตรง
ขั้นที่2 ตรวจสอบสิ่งต่างๆที่ติดค้างอยู่ในช่องปาก ทั้งนี้เพื่อไม่ให้กีดขวางทางเดินหายใจ
ขั้นที่3 คุกเข่าลงบริเวณด้านข้างลำตัวของผู้เคราะห์ร้าย จากนั้นวางสันมือทั้งสองให้ซ้อนทับกันบนหน้าอก เหยียดแขนตรงจากนั้นกดสันมือลงไปโดยกดทรวงอกผู้ป่วยยุบลงประมา 1 นิ้ว เป็นจังหวะๆ ประมาณ 60 ครั้งต่อนาที

ขั้นที่4 ขณะที่ส่งโรงพยาบาลให้นวดหัวใจต่อไปเรื่อยๆจนกระทั่งการเต้นของหัวใจกลับมาเป็นปกติหรือเมื่อได้รับการช่วยเหลือจากแพทย์แล้ว

การปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของช่างไฟฟ้าและช่างอิเล็กทรอนิกส์


1.ใส่รองเท้าพื้นยางที่มีคุณภาพของฉนวนที่ดี
2.ใส่เสื้อผ้าสะอาดและรัดกุม
3. หลีกเลี่ยงการปฏิบัติงานในที่เปียกชื้น ถ้ามีความจำเป็นควรยืนบนโต๊ะไม้
4. การปฏิบัติงานติดตั้งในอาคารหรือนอกอาคารควรสมหมวกนิรภัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น