ความชื้นสัมพัทธ์ (relative humidity, RH) คือ อัตราส่วนของปริมาณไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศต่อปริมาณไอน้ำอิ่มตัวที่สภาวะความดันและอุณหภูมิเดียวกัน มักแสดงในรูปร้อยละ ความชื้นสัมพัทธ์ (relative humidity) หาได้จากความสัมพันธ์กับอุณหภูมิกระเปาะเปียก (wet bulb temperature) และอุณหภูมิกระเปาะแห้ง (dry bulb temperature) จากความสัมพันธ์ในแผนภูมิไซโครมิทริก (psychrometric chart)
ค่าความชื้นสัมพัทธ์เป็นสภาวะที่ต้องควบคุมในการกระบวนการแปรรูปอาหารและเก็บรักษาอาหาร เช่น
- การแช่เย็นผักและผลไม้
- การแบ่งกลุ่มผักผลไม้ตามอุณหภูมิแช่เย็นและความชื้นสัมพัทธ์
- การผลิตขนมปัง (bread) โดยเฉพาะขั้นตอนการหมักสปองจ์ และการหมักโด (proofing)
- การแช่เย็น (cold storage) เพื่อเก็บรักษาอาหารสด เช่น การแช่เย็นผักและผลไม้ เนื้อสัตว์ และสัตว์ปีก
- การอบแห้งอาหาร (dehydration) ด้วยเครื่องอบ (drier)
- ห้องเก็บรักษาอาหารแช่เยือกแข็ง (frozen food)
- ไซโล (silo) สำหรับเก็บอาหารแห้ง (dried food)
การวัดค่าความชื้นสัมพัทธ์
ความชื้นสัมพัทธ์วัดได้ด้วยการวัดอุณหภูมิกระเปาะแห้งและอุณหภูมิกระเปาะเปียก อุณหภูมิกระเปาะแห้งเป็นวัดอุณหภูมิของอากาศโดยปกติ ส่วนอุณหภูมิกระเปาะเปียก เป็นการวัดอุณภูมิ ซึ่งกระเปาะของเทอร์โมมิเตอร์ถูกหุ้มห่อด้วยวัสดุที่ชุ่มน้ำและหล่อไว้ด้วยน้ำ
หากอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ น้ำจะสามารถระเหยกลายเป็นไอได้มากและรวดเร็ว จะทำให้อุณหภูมิของกระเปาะเปียกต่ำกว่าอุณหภูมิของกระเปาะแห้งมาก แต่ถ้าในอากาศมีความชื้นสูง อัตราการระเหยการเป็นไอของน้ำของกระเปาะเปียกจะน้อยลง ทำให้การนำพาความร้อนออกไปได้น้อยลง และเมื่อใดที่ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศเป็น 100% อัตราการระเหยของน้ำในกระเปาะเปียกจะเป็นศูนย์ด้วย ทำให้ไม่มีความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของกระเปาะเปียกและกระเปาะแห้งทั้งสอง เมื่อเราทราบอุณหภูมิของกระเปาะเปียกและกระเปาะแห้งแล้ว เราสามารถหาความชื้นสัมพัทธ์ได้จาก
ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกระเปาะเปียก อุณหภูมิกระเปาะแห้งและความชื้นสัมพัทธ์
หรือ การเทียบกับแผนภูมิไซโคเมตริก (Psychrometric chart)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น