วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คำนวนบีทียูแอร์ ก่อนเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ

    

คำนวนบีทียูแอร์ ก่อนเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ

         สำหรับคนที่กำลังคิดจะติดแอร์ที่บ้านซักเครื่องอยู่ในตอนนี้ สิ่งที่คุณต้องรู้ก่อนเป็นอันดับแรกก็คือห้องนั้นเป็นห้องอะไร ใช้งานแบบไหน  มีพื้นที่เท่าไหร่ เพื่อเป็นข้อมูลในการคำนวณหาขนาดทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศแบบคร่าวๆที่ เหมาะสมกับห้องนั้นๆ  เครื่องปรับอากาศจะได้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และไม่ทำงานหนักเกินไป  ข้อมูลเหล่านี้เมื่อคุณทราบแล้วสามารถนำไปใช้สำหรับการเลือกซื้อเครื่องปรับ อากาศต่อไป
การวัดพื้นที่ทำความเย็น
การวัดพื้นที่ห้องนั้น ควรวัดออกมาเป็นตารางเมตร และพยายามวัดให้ครบทั่วถึง เช่น  หากคุณวัดพื้นที่ในห้องนอน ควรวัดพื้นที่ในห้องน้ำด้วย หากต้องการแอร์เย็นถึงในห้องน้ำ ถ้าหากไม่วัดพื้นที่ในห้องน้ำด้วย แต่นำพื้นที่แค่ในห้องนอนมาคำนวณหาบีทียูแอร์ก็จะได้ขนาดทำความเย็นแค่ใน ห้องนอนแต่ใช้งานจริงก็เปิดประตูห้องน้ำไว้แล้วก็บ่นว่าแอร์ไม่เย็นนั่นเอง  ห้องนั่งเล่นที่มีฉากกั้นห้องครัว และห้องน้ำ ก็ต้องวัดพื้นที่ในห้องครัวและห้องน้ำด้วย ส่วนความสูงของเพดานกำหนดไว้ไม่เกิน 3เมตร
การคำนวณขนาดทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ
เมื่อได้พื้นที่ห้องมาแล้วเราก็สามารถทำมาคำนวณบีทียูแอร์ได้เองแบบ คร่าวๆได้ดังนี้ โดยใช้สูตร  บีทียูแอร์=กว้าง(เมตร)xยาว(เมตร)xตัวแปร
ตัวแปรสำหรับการหาบีทียูแอร์
x800 สำหรับห้องนอน
x900 สำหรับห้องนั่งเล่น, ห้องรับแขกที่มีคนไม่เกิน 4คน
x1000 สำหรับออฟฟิตหรือสำนักงานที่มีคนทากกว่า 4คน, ห้องออกกำลังกาย, ห้องที่มีผนังเป็นกระจก
ตัวอย่างเช่น 
ห้องนอนขนาด 12 ตารางเมตร นำ 12×800=9600 บีทียู/ชั่วโมง และเราสามารถเลือกแอร์ที่มีบีทียูแอร์ใกล้เคียงกับบีทียูแอร์ที่เราคำนวนได้ เช่น 9,000บีทียู หรือ 11000บีทียู ได้เช่นกัน
**หมายเหตุ : หากฝ้าเพดานสูงเกินกว่า 3เมตร ให้เพิ่มตัวแปรเป็นเมตรและ 5%
นั้นเป็นข้อมูลการคำนวณบีทียูแอร์แบบง่ายๆสำหรับบ้านเรือนหรือสำนักงาน ทั่วๆไป ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในประเทศไทยที่อากาศค่อนข้างร้อน อบอ้าว สำหรับการคำนวณขนาดทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศสำหรับพื้นที่ทำความเย็นใน ห้องเฉพาะเจาะจง หรือสำหรับการปรับอากาศสำหรับห้องพิเศษ เช่น ห้องผ่าตัด ปลอดเชื้อ ในโรงพยาบาล, ห้องเก็บอาหาร, ห้องเครื่องไฟฟ้า, ห้องเครื่องเซิร์ฟเวอร์  เป็นต้น จำเป็นต้องมีการคำนวณการโหลดความร้อนและอื่นที่ละเอียดและซับซ้อนมากกว่า และต้องเป็นวิศวกรที่มีใบอนุญาตออกแบบเท่านั้น จึงจะได้เครื่องปรับอากาศที่สามารถรักษาอุณหภูมิในห้องนั้นๆได้อย่างแม่นยำ

ปรับปรุงบ้านให้พร้อมก่อนติดตั้งเครื่องปรับอากาศ

    

ปรับปรุงบ้านให้พร้อมก่อนติดตั้งเครื่องปรับอากาศ


         ก่อนที่คุณจะเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศมาเพื่อติดตั้งในบ้านของคุณ เพื่อปรับอากาศในบ้านหรือห้องของคุณให้อยู่สบายยิ่งขึ้น ควรปรับปรุงตัวบ้านหรือห้องของคุณ เพื่อการทำงานของเครื่องปรับอากาศที่จะนำมาติดตั้งทำงานได้อย่างเต็ม ประสิทธิภาพ และไม่มีความร้อนจากที่อื่นมาเพื่อทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้นกว่า ที่ตัวเครื่องสามารถทำไห้ ลองเช็คดูว่าบ้านคุณทำสิ่งเหล่านี้หรือยัง
  1. ปลูกต้นไม้รอบๆตัวบ้าน  นอกจากต้นไม้จะช่วยให้ร่มเงากับตัวบ้านแล้ว ยังช่วยให้ความร้อนไม่ต้องสัมผัสกับผนังโดยตรง ช่วยลดการนำความร้อนของผนังได้อีกทางหนึ่ง
  2. ติดตั้งกันสาด  ที่ด้านนอกของตัวบ้านตรงหน้าต่างที่เป็นกระจก ในอยู่ทิศตะวันออก ทิศตะวันตกและทิศใต้ เพื่อป้องกันแสงแดดลอดเข้ามาในห้อง
  3. ติดตั้งฉนวนกันร้อน บนฝ้าเพดาน ใต้หลังค่า เพื่อป้องกันความร้อนที่แผ่ลงมาจากหลังคาสูห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
  4. อุดรอยรั่วตามผนังห้อง ช่องประตูหน้าต่าง รอยรั่วต่างๆในห้องทำให้อากาศข้างนอก ความร้อนลอดผ่านเข้ามาในห้อง
  5. ทาสีภายนอกที่ช่วยลดการนำความร้อน  สีภายนอกสีขาวหรือสีอ่อนช่วยลดการนำความร้อนผ่านผนังได้ดี
  6. พื้นที่สำหรับติดตั้งคอนเด็นซิ่ง เลือกสถานที่ไม่ไกลจากตัวบ้าน อากาศถ่ายเทได้สะดวก ซ่อมบำรุงได้ง่าย เพื่อสำหรับติดตั้งคอนเด็นซิ่ง
สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องปรับปรุงทั้งหมดหรอกครับ แต่ว่าหากปรับปรุงตามรายการข้างต้นแล้วจะดีมาก สำหรับบ้านหรือห้องที่ต้องการจะติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เพรานอกจากช่วยไม่ให้อากาศ และความร้อนภายนอกอาคารเข้ามาในพื้นที่ปรับอากาศที่สามารถเพิ่มภาระทำความ เย็นให้เครื่องปรับอากาศได้ บ้านของคุณจะน่าอยู่และเย็นมากขึ้นโดยที่ใช้เครื่องปรับอากาศน้อยลดอีกด้วย ครับ หรือค่อยปรับปรุงไปที่ละอย่างก็ได้ครับเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

การปรับอากาศเพื่ออะไร ทำไมต้องปรับอากาศ?

  

การปรับอากาศเพื่ออะไร ทำไมต้องปรับอากาศ?

     นอกจากเครื่องปรับอากาศที่เรารู้กันอยู่แล้ว ใช้เพื่อปรับอากาศให้เย็นสบายเหมาะแก่การอาศัย พักผ่อน ทำงาน หรือกิจกรรมอื่นๆของคนเรา แล้ว คุณรู้หรือไม่ว่านอกจากการปรับอากาศเพื่อให้คนเราอยู่สบาย มีการวิจัยว่าการปรับอากาศให้สบายสำหรับคนงาน จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มมากขึ้นกว่าค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเครื่อง ปรับอากาศ คนเรายังใช้การการปรับอากาศเพื่อสิ่งอื่นด้วย วันนี้ watcharaaircon.com จะพาคุณไปรู้จักการปรับอากาศเพื่อจุดประสงค์อื่นๆกันครับ
  • อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ การลดความชื้นในอากาศช่วยให้การพิมพ์ภาพสีในโรงพิมพ์ ได้ภาพที่ออกมาได้สีสดใส สม่ำเสมอ ตามที่ต้องการได้
  • อุตสาหกรรมสิ่งทอ  การเพิ่มความชื้นในอากาศขึ้นเล็กน้อยกว่าในอากาศปกติ ทำให้รักษาความนุ่ม และคุณภาพของเส้นด้ายที่จะนำมาทอเป็นผืนผ้า
  • อุตสาหกรรมเหล็กกล้า การทำให้อากาศแห้ง ก่อนที่จะนำเหล็กไปเข้าเตาหลอม จะช่วยเพิ่มคุณสมบัติของเหล็กกล้า และลดปริมาณของเชื้อเพลิงที่ใช้หลอมละลายเหล็ก
  • อุตสาหกรรมยา  การปรับอากาศในโรงงานผลิตยาเพื่อรักษาความสะอาด ปราศจากฝุ่นละอองและแบคทีเรีย เพื่อไม่ให้ยามีสิ่งเจือปน และช่วยรักษาคุณภาพยา
  • ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ จากการทดลองพบว่าในฤดูร้อนถ้าปรับอุณหภูมิให้เย็นสบายในโรงเลี้ยงสัตว์ พวก วัว ควาย หมู ไก่ เป็นต้น จะทำให้สัตว์เหล่านี้มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น
  • อุตสาหกรรม CANDY ได้แก่พวกลูกกวาดชนิดต่าง ๆ ช็อกโกแลตชนิดต่าง ๆ เป็นต้น ในอุตสาหกรรมประเภทนี้ต้องการทำความเย็น โดยเฉพาะการปรับอากาศจำเป็นอย่างยิ่ง ภายหลังที่ผลิตช็อกโกเลต ซึ่งอาจจะเป็นแผ่น เป็นเม็ด และเป็นก้อน ควรจะต้องเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4-10 องศาเซลเซียส เพื่อให้คงรูป การเก็บรักษาลูกอม ควรจะเก็บที่มีอุณหภูมิต่ำเพียงพอ เพื่อรักษาคุณภาพและป้องกันการติดกันของลูกอมด้วย
เห็นไหมครับว่าการปรับอากาศนั้นมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับหลายกิจการ และกิจกรรม ให้คนเราสามารถเพิ่มผลผลิต หรือเพิ่มคุณภาพของสินค้า การวิจัยพบว่า การติดตั้งเครื่องปรับอากาศนั้นได้ผลที่คุ้มค่า เช่น ในสำนักงาน คนงานทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หรือในร้านอาหารก็มีคนเข้ามารับประทานอาหารมากยิ่งขึ้นด้วย และการปรับอากาศไม่ได้หมายถึงทำให้อากาศเย็นลงอย่างเดียวและใช้เครื่องปรับ อากาศอย่างที่เราเห็นอยู่ทั่วไป แต่การปรับอากาศเป็นทั้งการปรับเพิ่ม-ลดอุณหภูมิ ความชื้นของอากาศ ความสะอาดของอากาศ และการไหลเวียนของอากาศให้เป็นไปตามความต้องการ เพื่อจุดประสงค์ที่ได้กล่าวไปแล้วนั่นเองครับ

วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

งานเครื่องกลและเครื่องยนต์

เครื่องกล 
         ได้แก่อุปกรณ์ที่ช่วยให้การทำงานสะดวกขึ้น เช่น งานในการยกของหนัก เครื่องกลจะช่วยให้ยกได้โดยใช้แรงที่น้อยลง เป็นต้น เครื่องกลพื้นฐานที่จัดเป็นเครื่องกลอย่างง่าย มี 6 อย่างได้แก่ คาน ลิ่ม รอก พื้นเอียง สกรู และล้อกับเพลา การอธิบายว่าเครื่องกลต่างๆ ช่วยให้ใช้แรงน้อยลงหรือทำงานได้สะดวกขึ้นนั้น อาจอาศัยหลักการของงาน เนื่องจากงานและพลังงานเป็นปริมาณที่คงตัว เครื่องกลจะไม่ช่วยให้เราทำงานได้มากกว่าที่เราทำงานให้กับเครื่องกล แต่อาจสูญเสียงานไปเล็กน้อย


          สำหรับระบบเครื่องกลที่ดี งานของแรงเสียดทานจะมีความน้อยเมื่อเทียบกับงานที่เครื่องกลกระทำ จึงอาจประมาณว่า


ประสิทธิภาพของเครื่องกลหาได้จาก



         ในทางปฏิบัติ ระบบจะมีการสูญเสียพลังงานไปบ้างกับความเสียดทานภายในระบบของเครื่องกล โดยงานที่เอาชนะความเสียดทานไม่สามารถนำคืนกลับมาใช้ให้เป็นประโยชน์ประสิทธิภาพจึงมีค่าน้อยกว่า 1 หรือน้อยกว่า 100 เปอร์เซ็นต์

         สำหรับรอกที่ติดตั้งดังภาพ (15) จะเห็นว่าการใช้รอกช่วยในการยกวัตถุที่มีมวลมากๆ สาสารถทำได้โดยใช้แรงเพียงครึ่งเดียว


                                               ภาพ 15 : รอก

จากภาพ (15) ออกแรง F ที่เชือกทำให้ปลายเชือกเคลื่อนที่ในระยะทาง s และทำให้วัตถุมวล m เคลื่อนที่ได้ระยะทาง h ดังนั้น ถ้าพิจารณาการทำงานของระบบรอก งานที่ให้แก่ระบบรอกคือ Fs ส่วนงานที่ได้จากระบบรอก คือ Wh และถ้าไม่มีการสูญเสียพลังงานจากความฝืดของรอก จากกฎการอนุรักษ์พลังงานจะได้ว่า



สำหรับการหาค่า F นั้นถ้าใช้หลักการของสมดุลก็คำนวณหาค่าที่ต้องการได้ หรือใช้กฎการอนุรักษ์พลังงานจะช่วยในการตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบและความเป็นไปได้ของค่าต่างๆ ในที่นี้
F มีค่าเท่ากับความตึงของเชือกซึ่งจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของน้ำหนัก หรือคิดจากงานซึ่ง s เป็นสองเท่าของ h ซึ่งให้ค่าของแรงที่ใช้เท่ากับ (รอกตัวบนเพียงช่วย
ให้ใช้แรงสะดวกขึ้น) ในทางปฏิบัติ Fs จะมากกว่า Wh เนื่องจากต้องทำงานบางส่วนเอาชนะแรงเสียดทานต่างๆ นั่นคือ F จะมากกว่า W/2 อัตราส่วนของการเคลื่อนที่ คือ เรียกว่า อัตราส่วนความเร็ว (velocity ratio) และถือเป็นการได้เปรียบเชิงกลเชิง ทฤษฎี (สำหรับตัวอย่างนี้คือ 2/1)

สำหรับเครื่องกลแบอื่นๆ จะสามารถหาการได้เปรียบเชิงกล แรงที่ต้องใช้ ฯลฯ จากการพิจารณาแรงในสมดุลและหลักการที่พลังงานเป็นปริมาณที่อนุรักษ์

                     ภาพ 16 : ตัวอย่างเครื่องกลประเภทคานและพื้นเอียง


หากต้องการยกวัตถุหลักเพียงเล็กน้อย เราอาจใช้คานช่วยงัด โดนใช้แขนข้างที่ออกแรงยาว หรือถ้าต้องการยกขึ้นที่สูง เราอาจใช้แรงที่น้อยกว่าการยกต่างๆ โดยการเข็นขึ้นพื้นเอียง เครื่องมือใช้ที่อำนวยความสะดวกในการใช้งาน ได้ใช้หลักการของเครื่องกลอยู่แล้ว เช่น หัวค้อนที่ใช้ถอนตะปู กรรไกร คีมตัดเหล็ก แม่แรงยกรถ ไขควง เป็นต้น



   เครื่องยนต์ หมายถึง เครื่องจักรหรือเครื่องมือกลที่สามารถเปลี่ยนพลังงาน
   ความร้อนเป็นพลังงานกล

            เครื่องยนต์เป็นส่วนหนึ่งในเครื่องต้นกลังที่สำคัญ ซึ่งนิยมใช้กันอย่างแพร่
หลาย ในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถจัดส่งกำลังให้กับส่วนต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการ
 ขับเคลื่อนหรือทำงานได้จึงถือได้ว่าเครื่องยนต์เป็นสิ่งหนึ่ง ที่สามารถทำประโยชนื
์ให้กับมนุษย์ได้อย่างมหาศาล

 เครื่องยนต์ดังกล่าวได้แก่

1. เครื่องจักรไอน้ำ ( steam engine )
2 .เครื่องยนต์สเตอริง ( stering engine )
3. เครื่องยนต์สูบอิสระ ( free piston engine )
4. เครื่องยนต์ แก๊สโซลีน ( gasoline engine )
5. เครื่องยนต์ แกีสเหลว ( LP.gas engine )
6. เครื่องยนต์ดีเซล ( diesel engine )
7. เครื่องยนต์โรตารี่ ( rotary engine )
8. เครื่องยนต์กังหันเก๊ส ( gas turbine engine )